ประวัติมหาวิทยาลัย

Image

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต งานวิจัย งานบริการ วิชาการแก่ชุมชน และงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งวิทยาลัยขึ้นในบริเวณวัดบวรนิเวศวิหาร พระราชทานนามว่า “มหามกุฏราชวิทยาลัย” โดยมีพระราชประสงค์เพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร ทรงอุทิศพระราชทรัพย์บำรุงประจำปีและก่อสร้างสถานศึกษาวิทยาลัยแห่งนี้ขึ้น ครั้นเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาเปิดมหามกุฏราชวิทยาลัย พระองค์ทรงรับมหามกุฏราชวิทยาลัยอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์บำรุงประจำปี อาศัยพระราชประสงค์ดังกล่าว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงทรงตั้งวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการของ มหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้น ๓ ประการ คือ

       ๑. เพื่อเป็นสถานศึกษาของพระภิกษุสามเณร 
       ๒. เพื่อเป็นสถานศึกษาวิทยาการอันเป็นของชาติภูมิและของต่างประเทศ 
       ๓. เพื่อเป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา

       เมื่อกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยได้เปิดดำเนินการแล้ว ปรากฏว่าพระวัตถุประสงค์เหล่านั้นได้รับผลเป็นที่น่าพอใจตลอดมา  เพื่อจะให้พระวัตถุประสงค์เหล่านั้นได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้น ในวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ในฐานะที่ทรงเป็นนายกกรรมการ มหามกุฏราชวิทยาลัยพร้อมด้วยพระเถระนุเถระ จึงได้ทรงประกาศตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงในรูปมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาขึ้น โดยอาศัยนามว่า สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้

       ๑. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรม
       ๒. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาวิทยาการอันเป็นของชาติภูมิและต่างประเทศ 
       ๓. เพื่อให้เป็นสถานเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในและนอกประเทศ
       ๔.เพื่อให้ภิกษุสามเณรมีความรู้และความสามารถในการบำเพ็ญประโยชน์แก่ประชาชน
       ๕. เพื่อให้ภิกษุสามเณรมีความรู้ และความสามารถในการค้นคว้า โต้ตอบ หรืออภิปรายธรรมได้อย่างกว้างขวางแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ 
       ๖.เพื่อให้ภิกษุสามเณรได้เป็นกำลังสำคัญในการจรรโลงพระพุทธศาสนา และเป็นศาสนทายาทที่เหมาะแก่กาลสมัย 
       ๗. เพื่อความเจริญก้าวหน้า และคงอยู่ตลอดกาลนานของพระพุทธศาสนา ทั้งนี้

       ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า กรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย สถาบันการศึกษาแห่งนี้ ได้เริ่มเปิดให้การอบรมศึกษาแก่ภิกษุสามเณร ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๙ จนถึงปัจจุบัน

Image

( หนังสือลงพระปรมาภิไท รัชกาลที่ ๕  ที่ ๘/๑๖๑ พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์, ดร. (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) มอบให้เมื่อ ๒๕ ก.ย. ๕๐ )

       เหตุผลที่ทำให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงพระดำริจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย ฯ นั้น ปรากฏในรายงานประจำปีของมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าพระเถรานุเถระทั้งหลาย มีความประสงค์ในการจัดตั้งวิทยาลัยเป็นที่ฝึกสอนพระปริยัติธรรมแลอักขระสมัย
ของภิกษุสามเณรแลศิษย์วัดนั้น ด้วยเห็นว่าธรรมเนียมในประเทศนี้ วัดทั้งหลายเป็นโรงเรียนที่ศึกษาวิชาความรู้ของราษฎรพลเมือง ตั้งต้นแต่เรียนอักขระฝึกกิริยามารยาทตลอดจนถึงเรียนพระปริยัติธรรม บรรดาราษฎรมีบุตรหลานก็นำเข้ามาฝากเป็นศิษย์วัด ให้เรียนวิชาความรู้ จนถึงเติบใหญ่อุปสมบทเป็นภิกษุ บางพวกก็ได้อยู่ไปจนเป็นคณาจารย์ปกครองกันต่อ ๆ ไป บางพวกอยู่สมควรแก่ศรัทธาแล้ว ก็ลาสิกขาบทสึกไปประกอบการหาเลี้ยงชีพของตนในทางฆราวาส มีธรรมเนียมเป็นพื้นเมืองมาดังนี้

       วิธีการปกครองของวัดนั้น ไม่ได้จัดเป็นชั้นตามสถานที่ ว่าสถานที่นั้นสอนชั้นสูง สถานที่นั้นสอนชั้นต่ำ ดูท่วงทีเหมือนในวัดหนึ่งจะมีทั้งชั้นสูงชั้นต่ำ คือราษฎรนำบุตรหลานเข้ามาฝากภิกษุสามเณร ให้เรียนอักขระแลฝึกกริยามารยาทเป็นต้น การฝึกสอนชั้นนี้จัดว่าเป็นชั้นต่ำ การฝึกสอนภิกษุสามเณรให้เล่าเรียนมคธภาษาก็ดี ให้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมก็ดี การศึกษาชั้นนี้จัดว่าเป็นชั้นสูง แต่การหาดำเนินไปโดยเรียบร้อยดังวิธีที่จัดไม่ เพราะข้อขัดขวางดังต่อไปนี้

       ราษฎรผู้จะนำบุตรหลานมาฝากต่อภิกษุสามเณรในวัดนั้น ๆ ก็ฝากในสำนักที่ตนรู้จักคุ้นเคย ภิกษุสามเณรผู้เป็นอาจารย์นั้น บางรูปก็มีความรู้มาก บางรูปก็มีความรู้น้อย ทั้งไม่มีหลักสูตรแห่งการเล่าเรียนว่าถึงไหนจัดเป็นใช้ได้ ความรู้ของศิษย์จึงไม่เสมอกัน ตั้งแต่กรมศึกษาธิการจัดหลักสูตรสำหรับสอนความรู้ขึ้นแล้ว การเล่าเรียนจึงมีกำหนด แต่เพราะความรู้ของภิกษุสามเณรผู้เป็นอาจารย์ไม่เสมอกัน ทั้งความนิยมของเด็กผู้เล่าเรียนก็ดี ของผู้ใหญ่ของเด็กก็ดี เป็นแต่เพียงอ่านได้เขียนได้เท่านั้นก็พอประสงค์ ความรู้ของนักเรียนที่ออกจากวัดจึงยังจัดว่าถึงกำหนดแท้ไม่ได้

       ส่วนการเล่าเรียนมคธภาษานั้นแต่เดิมไม่บังคับ แล้วแต่ใครสมัครจะเรียน ในทุกวันนี้ความนิยมในการเล่าเรียนมคธภาษาน้อยลง ด้วยผู้ที่มาบวชเป็นภิกษุสามเณรจะหาผู้ที่มีศรัทธาแท้เป็นอันยาก ทั้งพื้นเดิมก็เป็นคนขัดสน ต้องการแต่ความรู้ที่จะให้ผลเป็นเครื่องเลี้ยงชีพได้โดยประจักษ์ตา ไม่ต้องการความรู้ที่เป็นอาภรณ์ของบุรุษ หรือความรู้ที่เป็นเครื่องเจริญผล โดยเพิ่มสติปัญญาสามารถ แลวิธีฝึกสอนเด็กก็เป็นการเนิ่นช้า หากจะมีผู้อุตสาหะเรียนบ้าง จะหาอาจารย์ผู้บอกให้รู้จริงเห็นจริงก็ได้ยาก ทั้งผู้เรียนจะชำนาญในภาษาของตนมาก่อนก็ได้โดยยาก หลักสูตรก็มากชั้น แลการสอบความรู้ก็ห่าง ต่อล่วงหลายปีจึงสอบครั้งหนึ่ง ด้วยอาศัยเหตุเหล่านี้ จึงมีอาจารย์สอนให้รู้จริงเห็นจริงได้น้อยตัว เรียนไม่ทันรู้ละทิ้งไปเสียก็มี บางทีเรียนรู้พอจะสอบความรู้ได้ อยู่ไม่ถึงกาลสอบก็มี เข้าสอบจนเป็นบาเรียนแล้วก็มี แต่จะหาผู้สอบได้จนจบหลักสูตรได้น้อยถึงนับตัวถ้วน เพราะหลักสูตรที่ตั้งไว้มากเกิน เมื่อความเล่าเรียนเสื่อมทรามไป ผู้เป็นบาเรียนเพียง ๔ ประโยค ๕ ประโยค ก็กว้างขวางมีผู้นับหน้าถือตาแสวงหาลาภผลเลี้ยงตัว พอตั้งตัวได้แล้ว ก็ไม่คิดที่จะเป็นนักเรียนต่อไป บางรูปก็รับตำแหน่งพระราชาคณะปกครองหมู่คณะเสีย ในระหว่างยังไม่ทันได้แปลจบหลักสูตร อาศัยเหตุนี้ การเรียนมคธภาษาจึงไม่เจริญทันเวลาที่เป็นอยู่บัดนี้

ส่วนการเรียนพระปริยัติธรรมนั้นเป็น ๒ ชั้น คือชั้นต่ำ ๑ ชั้นสูง ๑ การให้โอวาทสั่งสอน แลให้ศึกษาในตำรับภาษาไทยจัดเป็นชั้นต่ำ สำหรับภิกษุสามเณรบวชใหม่ ตลอดไปจนถึงผู้ไม่ได้เรียนมคธภาษา การอ่านการทรงภาษาบาลีไตรปิฎกจัดเป็นชั้นสูง สำหรับผู้รู้ภาษามคธ การฝึกสอนชั้นต่ำไม่เจริญได้ เพราะผู้ที่เข้ามาบวชไม่ชำนาญในภาษาของตนทั่วทุกคน ฟังคำสอนก็จำไม่ได้ อ่านหนังสือก็ไม่ค่อยเข้าใจ แลการฝึกสอนชั้นสูงไม่เจริญได้ โดยเหตุที่หลักสูตรสำหรับมคธภาษาเป็นอย่างหนึ่ง พระปริยัติธรรมที่จำเป็นจะต้องรู้เป็นอย่างหนึ่ง ผู้เล่าเรียน ๆ มคธภาษาสอบความรู้ได้แล้ว ยังต้องวกมาดูบาลีไตรปิฎกอีกเป็นสองซ้ำอยู่ จะหาผู้สมัครเรียนแต่ภาษามคธก็ได้โดยยากแล้ว จะหาผู้รู้ภาษามคธแล้วศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป ก็ต้องได้โดยยากเป็นธรรมดา

       ถ้าจะคิดบำรุงวิทยาความรู้ให้สมควรกับประเพณีที่เป็นมาแต่เดิมแลให้เจริญทัน เวลา จำเป็นที่จะต้องคิดจัดการแก้ไขตามสมควรแก่เวลา ในการศึกษาของศิษย์วัด จะต้องจัดให้เด็กมีที่เรียนได้ตลอดหลักสูตรของกรมศึกษาธิการทั่วทุกคน แลจะต้องฝึกฝนให้ประพฤติกิริยามารยาทให้เรียบร้อย การเรียนมคธภาษาจะต้องจัดหลักสูตรให้น้อยชั้นลง แต่ย่นความรู้ให้จุลงในชั้นนั้น ๆ ให้เป็นคลองเดียวกันกับการเรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูงด้วย ต้องบังคับบรรดาภิกษุสามเณรที่มีอายุควรแก่การเล่าเรียน ให้เล่าเรียนถ้วนทั่วทุกรูป คิดแก้ไขวิธีสอนให้เรียนง่ายขึ้นให้รู้ได้จริง ให้จบหลักสูตรได้ก่อนที่นักเรียนจะเป็นคนกว้างขวางจนตั้งตัวได้ จะต้องจัดการสอบความรู้ทุกปี เปลี่ยนแปลงวิธีสอบให้เป็นไปโดยสะดวก มีใช้เขียนแทนแปลด้วยปากเป็นต้น

       การฝึกสอนพระปริยัติธรรมทั้งสองชั้น เมื่อการฝึกสอนภาษาไทยแลมคธภาษาเจริญแล้ว ก็คงเจริญตามกัน เมื่อสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงพระราชศรัทธาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นไว้เป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ในคณะธรรมยุกติ กนิกาย พระเถรานุเถระทั้งหลายได้ช่องอันดี จึงได้จัดการเปลี่ยนแปลงวิธีเล่าเรียนในคณะตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๒ จนถึงบัดนี้

       เหตุผลที่ทำให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงพระดำริจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย ฯ นั้น ปรากฏในรายงานประจำปีของมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่า

       พระเถรานุเถระทั้งหลาย มีความประสงค์ในการจัดตั้งวิทยาลัยเป็นที่ฝึกสอนพระปริยัติธรรมแลอักขรสมัย ของภิกษุสามเณรแลศิษย์วัดนั้น ด้วยเห็นว่าธรรมเนียมในประเทศนี้ วัดทั้งหลายเป็นโรงเรียนที่ศึกษาวิชาความรู้ของราษฎรพลเมือง ตั้งต้นแต่เรียนอักขระฝึกกิริยามารยาทตลอดจนถึงเรียนพระปริยัติธรรม บรรดาราษฎรมีบุตรหลานก็นำเข้ามาฝากเป็นศิษย์วัด ให้เรียนวิชาความรู้ จนถึงเติบใหญ่อุปสมบทเป็นภิกษุ บางพวกก็ได้อยู่ไปจนเป็นคณาจารย์ปกครองกัน ต่อ ๆ ไป บางพวกอยู่สมควรแก่ศรัทธาแล้ว ก็ลาสิกขาบทสึกไปประกอบการหาเลี้ยงชีพของตนในทางฆราวาส มีธรรมเนียมเป็นพื้นเมืองมาดังนี้

        วิธี การปกครองของวัดนั้น ไม่ได้จัดเป็นชั้นตามสถานที่ ว่าสถานที่นั้นสอนชั้นสูง สถานที่นั้นสอนชั้นต่ำ ดูท่วงทีเหมือนในวัดหนึ่งจะมีทั้งชั้นสูงชั้นต่ำ คือราษฎรนำบุตรหลานเข้ามาฝากภิกษุสามเณร ให้เรียนอักขระแลฝึกกริยามารยาทเป็นต้น การฝึกสอนชั้นนี้จัดว่าเป็นชั้นต่ำ การฝึกสอนภิกษุสามเณรให้เล่าเรียนมคธภาษาก็ดี ให้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมก็ดี การศึกษาชั้นนี้จัดว่าเป็นชั้นสูง แต่การหาดำเนินไปโดยเรียบร้อยดังวิธีที่จัดไม่ เพราะข้อขัดขวางดังต่อไปนี้  
   
       ราษฎรผู้จะนำบุตรหลานมาฝากต่อภิกษุสามเณร ในวัดนั้น ๆ ก็ฝากในสำนักที่ตนรู้จักคุ้นเคย ภิกษุสามเณรผู้เป็นอาจารย์นั้น บางรูปก็มีความรู้มาก บางรูปก็มีความรู้น้อย ทั้งไม่มีหลักสูตรแห่งการเล่าเรียนว่าถึงไหนจัดเป็นใช้ได้ ความรู้ของศิษย์จึงไม่เสมอกัน ตั้งแต่กรมศึกษาธิการจัดหลักสูตรสำหรับสอนความรู้ขึ้นแล้ว การเล่าเรียนจึงมีกำหนด แต่เพราะความรู้ของภิกษุสามเณรผู้เป็นอาจารย์ไม่เสมอกัน ทั้งความนิยมของเด็กผู้เล่าเรียนก็ดี ของผู้ใหญ่ของเด็กก็ดี เป็นแต่เพียงอ่านได้เขียนได้เท่านั้นก็พอประสงค์ ความรู้ของนักเรียนที่ออกจากวัดจึงยังจัดว่าถึงกำหนดแท้ไม่ได้  
  
        ส่วนการเล่าเรียนมคธภาษานั้นแต่เดิมไม่บังคับ แล้วแต่ใครสมัครจะเรียน ในทุกวันนี้ความนิยมในการเล่าเรียนมคธภาษาน้อยลง ด้วยผู้ที่มาบวชเป็นภิกษุสามเณรจะหาผู้ที่มีศรัทธาแท้เป็นอันยาก ทั้งพื้นเดิมก็เป็นคนขัดสน ต้องการแต่ความรู้ที่จะให้ผลเป็นเครื่องเลี้ยงชีพได้โดยประจักษ์ตา ไม่ต้องการความรู้ที่เป็นอาภรณ์ของบุรุษ หรือความรู้ที่เป็นเครื่องเจริญผล โดยเพิ่มสติปัญญาสามารถ แลวิธีฝึกสอนเด็กก็เป็นการเนิ่นช้า หากจะมีผู้อุตสาหะเรียนบ้าง จะหาอาจารย์ผู้บอกให้รู้จริงเห็นจริงก็ได้ยาก ทั้งผู้เรียนจะชำนาญในภาษาของตนมาก่อนก็ได้โดยยาก หลักสูตรก็มากชั้น แลการสอบความรู้ก็ห่าง ต่อล่วงหลายปีจึงสอบครั้งหนึ่ง ด้วยอาศัยเหตุเหล่านี้ จึงมีอาจารย์สอนให้รู้จริงเห็นจริงได้น้อยตัว เรียนไม่ทันรู้ละทิ้งไปเสียก็มี บางทีเรียนรู้พอจะสอบความรู้ได้ อยู่ไม่ถึงกาลสอบก็มี เข้าสอบจนเป็นบาเรียนแล้วก็มี แต่จะหาผู้สอบได้จนจบหลักสูตรได้น้อยถึงนับตัวถ้วน เพราะหลักสูตรที่ตั้งไว้มากเกิน เมื่อความเล่าเรียนเสื่อมทรามไป ผู้เป็นบาเรียนเพียง ๔ ประโยค ๕ ประโยค ก็กว้างขวางมีผู้นับหน้าถือตาแสวงหาลาภผลเลี้ยงตัว พอตั้งตัวได้แล้ว ก็ไม่คิดที่จะเป็นนักเรียนต่อไป บางรูปก็รับตำแหน่งพระราชาคณะปกครองหมู่คณะเสีย ในระหว่างยังไม่ทันได้แปลจบหลักสูตร อาศัยเหตุนี้ การเรียนมคธภาษาจึงไม่เจริญทันเวลาที่เป็นอยู่บัดนี้

         ในการจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยนั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ได้ทรงวางวัตถุประสงค์ไว้ ๓ ประการ คือ

         ๑. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ธรรมยุกติกนิกาย
         ๒. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาวิทยา ซึ่งเป็นของชาติภูมิและต่างประเทศแห่งกุลบุตร
         ๓. เพื่อเป็นสถานที่จัดการสั่งสอนพระพุทธศาสนา

และพระองค์ได้ทรงอธิบายขยายความของวัตถุประสงค์ทั้ง ๓ ประการ ไว้ดังนี้  

        ๑. การเล่าเรียนของภิกษุสามเณรนั้นประเพณีเดิมเคยเรียนมูลปกรณ์ก่อน แล้วจึงเรียนอรรถกถาธรรมบท มังคลัตถทีปนี สารัตถสังคหเป็นต้น ถึงกำหนด ๓ ปี มีการสอบปริยัติธรรม ครั้งหนึ่ง บางคราวถ้าขัดข้องก็เลื่อนออกไป ถึง ๖ ปีครั้งหนึ่ง หนังสือสำหรับสอบนั้นมี ๒ อย่าง สำหรับฝ่ายไทยอย่าง ๑ สำหรับฝ่ายรามัญอย่าง ๑ สำหรับฝ่ายไทยนั้นจัดเป็น ๙ ชั้น อรรถกถาธรรมบทแบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ ชั้นที่ ๓ มังคลัตถทีปนีบั้นต้นชั้นที่ ๔ สารัตถสังคหชั้นที่ ๕ สารัตถทีปนีฏีกาพระวินัยชั้นที่ ๙ ภิกษุสามเณรผู้จะสอบความรู้ จับประโยคแล้ว รับหนังสือตามประโยคมาดูเสร็จแล้ว เข้าไปแปลในที่ประชุมพระราชาคณะด้วยปาก ตามเวลาที่กำหนดให้ ถ้าแปลได้ตลอดประโยคในเวลาที่กำหนดไว้นั้น จัดเป็นได้ ถ้าครบกำหนดเวลาแล้วยังแปลไม่ตลอดประโยค จัดเป็นตก ผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ชั้นที่ ๓ ขึ้นไป จึงนับว่าเป็นเปรียญ แม้สอบชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ ได้แล้ว ถ้าตกชั้นที่ ๓ ก็นับว่าตก ถึงคราวหน้าจะเข้าแปลใหม่ต้องแปลตั้งแต่ชั้นที่ ๑ ขึ้นไปอีก ฝ่ายรามัญนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น บาลีมหาวิภังค์ คืออาทิกัณฑ์ หรือปาจิตตีย์อย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะเลือก เป็นชั้นที่ ๑ บาลีมหาวิภังค์หรือจุลลวัคค์ อย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะเลือก เป็นชั้นที่ ๒ บาลีมุตตกวินัยวินิจฉัยเป็นชั้นที่ ๓ ปฐมสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย เป็นชั้นที่ ๔ แปลเป็นภาษารามัญ แต่ต้องบอกสัมพันธ์ด้วย ถ้าแปลได้ตั้งแต่ชั้นที่ ๒ ขึ้นไป จึงนับว่าเป็นเปรียญ เปรียญเหล่านี้ถ้ายังไม่ได้แปลถึงชั้นที่สุด หรือยังไม่ได้รับตำแหน่งยศเป็นพระราชาคณะ แม้ถึงจะมีพรรษายุกาลมากก็ยังนับว่ามีหน้าที่จะต้องแปลชั้นสูงขึ้นไปอีก ต่อเมื่อใดแปลถึงชั้นที่สุดแล้วก็ดี ได้รับตำแหน่งยศเป็นพระราชาคณะ ในระหว่างนั้นก็ดี จึงนับว่าสิ้นเขตที่จะแปลหนังสืออีก  
  
        ภิกษุสามเณรผู้เริ่มเรียน กว่าจะเรียนจบมูลปกรณ์ก็ช้านาน มักเป็นที่ระอาเบื่อหน่ายแล้วละทิ้งเสีย แม้ถึงเรียนตลอดบ้างก็ไม่เข้าใจตลอดไปได้ เพราะธรรมดาคนเรียนใหม่ ไม่อาจเข้าใจฉบับเรียนที่พิสดารให้ตลอดไปได้ จะกำหนดจำได้แต่เพียงพอแก่สติปัญญา เหมือนเด็กน้อยที่ผู้ใหญ่ป้อนอาหารคำโตกว่าปากขึ้นไปรับบริโภคได้พอประมาณ ปากของตนฉะนั้น ท่านผู้ชำนาญในวิธีสอนบางท่านจึงได้คิดแต่งวิธีสอนผู้เริ่มเรียนใหม่ เรียกชื่อว่าบทมาลา ย่อบ้าง พิสดารบ้าง ตามความประสงค์ของท่าน สำหรับสอนแทนมูลปกรณ์ เพื่อจะให้เวลาเรียนเร็วขึ้น ส่วนการเรียนนั้น สถานที่หนึ่งก็มีครูคนหนึ่งสอนนักเรียนทุกชั้นไม่ได้ปันเป็นแผนก จึงหาครูที่มีความรู้พอจะสอนได้ตลอดเป็นอันยาก ทั้งเป็นที่ลำบากของครูผู้สอนจะสอนนั้นด้วย ส่วนกำหนดเวลาสอบความรู้ ๓ ปีครั้งหนึ่ง หรือ ๖ ปีครั้งหนึ่งนั้น เป็นการนาน ผู้ที่เรียนมีความรู้พอจะสอบได้ แต่ยังไม่ถึงสมัยที่จะสอบ หรือผู้ที่สอบตกแล้ว มักสิ้นหวังที่จะรอคอยคราวสอบครั้งหน้า แลนักเรียนคนหนึ่งสอบคราวหนึ่งก็ได้ไม่กี่ชั้นนัก จึงไม่ใคร่จะมีเปรียญประโยคสูง จะหาครูที่สอนหนังสือชั้นสูง ๆ ได้ก็ยากเข้าทุกที ถึงจะมีผู้สอบชั้นสูงได้บ้าง ก็คงต้องรับตำแหน่งยศพระราชาคณะเสียในระหว่างยังไม่ทันสอบชั้นสูงด้วยเหตุจำ เป็น มีจะต้องเป็นเจ้าอาวาสเป็นต้น เมื่อเป็นฉะนี้ก็ไม่ค่อยมีนักเรียนที่สอบได้ถึงชั้นที่สุดตามแบบที่ตั้งไว้ ส่วนการแปลด้วยปากนั้น สอบวันหนึ่งไม่ได้กี่รูป กว่าจะจบการสอบคราวหนึ่งถึง ๓ เดือน เมื่อเป็นเช่นนี้ จะกำหนดการสอบให้เร็วเข้ามาก็ไม่ได้อยู่เอง แลเปรียญที่สอบความรู้ได้ถึงชั้นนั้น ๆ แล้ว ก็มีความรู้พออ่านหนังสือเข้าใจได้เท่านั้น ผู้สอบยังทราบไม่ได้ว่าเป็นผู้ทรงธรรมวินัย สมควรจะปกครองหมู่คณะแล้วหรือไม่ อาศัยเหตุผลที่กล่าวมานี้ การเรียนพระปริยัติธรรมของภิกษุสามเณร จึงนับว่าเจริญดีแล้วยังไม่ได้
 
        เพื่อจะคิดแก้ไขให้การเล่าเรียนพระปริยัติธรรมของภิกษะสามเณรเจริญ ดีขึ้นทันเวลาที่เป็นอยู่บัดนี้ วิทยาลัยจึงได้จัดวิธีสอนแลสอบความรู้ดังนี้ ในเบื้องต้น ให้เรียนบาลีไวยากรณ์ ซึ่งเป็นหนังสือชนิดเดียวกับบทมาลา แล้วจึงขึ้นคัมภีร์ต่อไป แบบที่สำหรับสอบความรู้นั้น บาลีไวยากรณ์เป็นชั้นนักเรียนที่ ๓ อรรถกถาธรรมบท ความนิทาน เป็นชั้นนักเรียนที่ ๒ แก้กถาธรรมบทบั้นปลาย เป็นนักเรียนชั้นที่ ๑ แก้กถาธรรมบทบั้นต้น เป็นชั้นเปรียญที่ ๓ (ต่อไปถ้ามีกำลังจะพิมพ์มังคลัตถทีปนีได้ จะใช้เป็นแบบสำหรับสอบชั้นเปรียญที่ ๓) พระบาลีพระวินัยมหาวัคค์และจุลลวังคค์ กับบาลีพระอภิธรรมบางเล่ม เป็นชั้นเปรียญที่ ๑ กำหนดสอบไล่ทุกปี วิธีสอบไล่นั้นใช้เขียน แต่ยอมให้ผิดได้ไม่เกินกำหนด ถ้าได้ชั้นไหนแล้วก็เป็นอันได้ วิทยาลัยได้รับพระบรมราชานุญาตให้สอบไล่ได้โดยวิธีที่จัดนี้ เป็นส่วนพิเศษ  
   
        ๒. การที่ประชุมชนจะเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้ชัดเจนมีอยู่ ๓ ทาง คือ ด้วยได้ฟังธรรมเทศนา ด้วยได้สนทนาธรรม ด้วยได้อ่านหนังสือที่เป็นคำสั่งสอน การเทศนานั้นมีที่วัดตามกำหนดวันพระบ้าง มีที่โรงธรรมในที่นั้น ๆ บ้าง มีด้วยกิจนิมนต์ในมังคลามังคลสมัยบ้าง เทศที่จัดตามกำหนดวันพระนั้น จะได้ฟังก็แค่คนที่เข้าวัดเท่านั้น ส่วนเทศนาในโรงธรรมนั้นตั้งขึ้นที่ไหนก็มีแต่คนในจังหวัดนั้น และมักจะเทศนาแต่เรื่องนิทานนิยายอะไรต่าง ๆ ไม่เป็นทางที่จะให้เข้าใจในพระพุทธศาสนาดีขึ้น การเทศนาด้วยกิจนิมนต์ในมังคลามังคลสมัยนั้นก็มักมีแบบไว้สำหรับพิธีนั้น ๆ ใครเคยฟังเรื่องใดก็ฟังเรื่องนั้นซ้ำ ๆ อยู่นั่น ไม่ค่อยจะได้ฟังเรื่องที่แปลกจากนั้น ส่วนการสนทนาธรรมนั้น เป็นทางที่จะเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้ชัดเจน เพราะผู้ฟังถามข้อที่ตัวไม่เข้าใจหรือสงสัยอยู่ได้ แต่จะหาผู้ที่เข้าใจในการสนทนานี้ยากยิ่งนัก ส่วนการอ่านหนังสือที่เป็นคำสั่งสอนนั้น เป็นที่เข้าใจในพระพุทธศาสนาได้ดีกว่าฟังเทศนา เพราะอ่านเองมีเวลาที่จะกำหนดตรึกตรองได้ตามชอบใจ และถ้าจำได้แล้วลืมเสียกลับดูอีกก็ได้ แต่หนังสือที่สำหรับจะอ่านเช่นนั้นยังไม่มีแพร่หลายพอที่ประชุมชนจะแสวงหา ไว้อ่านได้ หนังสือที่มีอยู่แล้วก็ยังไม่ได้แสดงคำสอนในพระพุทธศาสนาให้สิ้นเชิง เป็นแต่แสดงบางข้อความตามประสงค์ของผู้แต่งหนังสือนั้น ๆ ความยินดีในธรรมของคนก็ต่างกัน บางคนยินดีในธรรมที่ลึกซึ้ง บางคนยินดีในธรรมที่ไม่ลึกซึ้ง ถ้าถูกอัธยาศัยก็พอใจอ่าน ถ้าไม่ถูกอัธยาศัยก็ไม่พอใจอ่าน หนังสือสำหรับสั่งสอนประชุมชนควรจะมีหลายอย่างตามอัธยาศัยของคนต่าง ๆ กัน  
           ในการที่จะแนะนำให้ประชุมชนเข้าใจในพระพุทธศาสนาชัดเจนดีนั้น เป็นกิจที่วิทยาลัยควรจุด ๒ อย่าง คือ มีธรรมเทศนาที่วัดตามกำหนดวันพระอย่างหนึ่ง จัดพิมพ์หนังสือแสดงคำสั่งสอนอย่างหนึ่ง ส่วนการมีเทศนาตามกำหนดวันพระนั้น ได้เคยมีเป็นประเพณีของวัดมาแล้ว ส่วนการพิมพ์หนังสือแสดงคำสอนนั้นวิทยาลัยจะจัดขึ้นตามกำลังที่จะจัดได้ 
         ๓. การฝึกสอนเด็กชาวเมืองนั้น วิทยาลัยจะจัดให้มีโรงเรียนสำหรับสอนหนังสือไทยแลเลขแลฝึกกิริยาเด็กให้ เรียบร้อย สอนให้รู้จักดีชั่วตามสมควร
        ใน ๓ ข้อที่กล่าวแล้วนี้ การเล่าเรียนของภิกษุสามเณร วิทยาลัยได้จัดแล้ว ส่วนอีก ๒ ข้อนั้นอาจจัดได้เมื่อใด ก็จะจัดเมื่อนั้นตามลำดับ จากพระอธิบายข้างต้นนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงชี้ให้เห็นว่า การศึกษาของพระสงฆ์เท่าที่ผ่านมาไม่เจริญก้าวหน้า เพราะสาเหตุหลายประการ กล่าวคือ
        (๑) ตำราเรียนบางส่วนไม่เหมาะสม ทำให้ผู้เรียนต้องใช้เวลาเรียนนานเกินจำเป็น จนผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเรียนไปไม่ค่อยตลอด
        (๒) เนื่องจากตำราเรียนยากเกินความจำเป็น แม้ผู้ที่เรียนผ่านไปได้ก็มักจะไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน
        (๓) การเรียนไม่มีการจัดเป็นชั้นอย่างเป็นระบบ ครูคนเดียวสอนหมดทุกอย่าง เป็นเหตุให้หาครูที่สอนได้อย่างสมบูรณ์ตามหลักสูตรยาก
        (๔) การสอบไม่มีกำหนดที่แน่นอนและทิ้งระยะนานเกินไป คือ ๓ ปีครั้งบ้าง ๖ ปีครั้งบ้าง
        (๕) วิธีการสอบยังล้าหลัง คือสอบด้วยวิธีแปลด้วยปาก ซึ่งการสอบแต่ละครั้งต้องใช้เวลามาก แต่สอบนักเรียนได้จำนวนน้อยคน  
          เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวนี้นั่นเอง ที่ทำให้ผู้ที่ผ่านการสอบได้แล้วก็มั่นใจไม่ได้ว่าเป็นผู้รู้พระธรรมวินัยดี เพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจในสิ่งที่ตนเรียน และเรื่องที่เรียนในชั้นนั้น ๆ บางทีก็ไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นจะต้องรู้ ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ หากกล่าวโดยสรุปก็คือ เป็นปัญหาเกี่ยวกับวิธีสอนและวิธีสอบนั่นเอง 
          วิธีที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงพระดำริขึ้นเพื่อแก้ไขการศึกษาของภิกษุสามเณรให้เจริญทันกาลสมัย ดังที่ได้จัดขึ้นในมหามกุฏราชวิทยาลัย ก็คือในด้านการสอนนั้นจัดหลักสูตรให้มีน้อยชั้น สามารถเรียนให้จบได้ในเวลาอันสั้น เรียนได้ง่ายขึ้น แต่ได้ความรู้พอเพียงแก่ความต้องการ ส่วนการสอบนั้น ให้มีการสอบทุกปีและสอบด้วยวิธีเขียน กล่าวโดยสรุปก็คือจัดหลักสูตรให้เหมาะสม ใช้เวลาเรียนสั้น เรียนง่ายได้ความรู้มาก และวัดผลได้แม่นยำ

พ.ศ. ๒๔๓๖พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ให้สร้างวิทยาลัยขึ้น โดยพระราชทานนามว่า มหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แด่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ผู้เป็นที่มาแห่งนาม มหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๘๘เรียกนามมหามกุฏราชวิทยาลัยว่า สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. ๒๔๘๙สมเด็จ พระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ นายกกรรมการ มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงประกาศใช้ระเบียบและหลักสูตรของสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย และเปิดการอบรมการศึกษาแก่ภิกษุสามเณร โดยจัดเป็นหลักสูตรปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิตไว้ ๔ ปี และเปิดเรียนในปีนี้เป็นรุ่นแรก
พ.ศ. ๒๔๙๐เปลี่ยน แปลงหลักสูตรใหม่ คือกำหนดไว้ว่าผู้ศึกษาจะต้องผ่านการศึกษาชั้นเตรียม ศาสนศาสตร์ ปีที่ ๑ – ๒ ก่อนแล้วจึงเข้าศึกษาในชั้นปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต ปีที่ ๑ ได้
พ.ศ. ๒๔๙๓ เปลี่ยน แปลงหลักสูตรใหม่ คือ กำหนดไว้ว่าผู้ศึกษาจะต้องผ่านชั้นบุรพศึกษา ( สมัยนั้นเรียกว่าชั้นมูล ) ๑ ปี ก่อน จากนั้นก็เข้าศึกษาชั้นเตรียมศาสนศาสตร์ ๒ ปี แล้วจึงเข้าศึกษาในชั้นปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต ปีที่ ๑ ใช้เวลาศึกษาภาควิชาการรวม ๗ ปี กับจะต้องรับการอบรมพิเศษและค้นคว้าอีก ๑ ปี รวมทั้งสิ้น ๘ ปี จึงจะมีสิทธิรับปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต ( ศ.บ. )
พ.ศ. ๒๔๙๘ สมเด็จ พระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เสด็จทรงวางศิลาฤกษ์ อาคารเรียนสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งใช้เป็นอาคารเรียนในปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๐๑ ย้าย สำนักงานบริหารสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จากตึกหอสมุดมหามกุฏราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร มาที่อาคารเรียนตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยในปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๐๔ ปรับปรุงโครงสร้างสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยและโครงส้างหลักสูตรใหม่เพื่อให้เข้ากับสภาพสังคมปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๐๕เปลี่ยน แปลงหลักสูตรใหม่ แบ่งชั้นเรียนออกเป็น ๗ ชั้น คือ บุรพศึกษา ๑ ชั้น เตรียมศาสนศาสตร์ ๒ ชั้น ปริญญาศาสนศาสตร-บัณฑิต ๔ ชั้น ตั้งแต่ปีที่ ๑-๕ เรียนเต็มทุกวิชา ในชั้นปีที่ ๖-๗ แยกเรียนเป็น ๒ สาขา คือ สาขาปรัชญา และสาขาจิตวิทยา เพื่อปรับสภาพให้เข้ากับมาตรฐานของมหาวิทยาลัยทั่วไป
พ.ศ. ๒๕๐๖ เปลี่ยนแปลงหลักสูตรอีกในชั้นปีที่ ๖-๗ แยกออกเป็น ๓ สาขา คือ สาขาปรัชญา สาขาจิตวิทยา และสาขาสังคมศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้ เปลี่ยนแปลงหลักสูตรอีก คือในชั้นปีที่ ๖-๗ แยกเรียนเป็น ๗ สาขา คือ สาขาปรัชญา สาขาจิตวิทยา สาขาสังคมศาสตร์ สาขาบาลี-สันสกฤต สาขาโบราณคดี สาขาภาษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษา แต่สามารถเปิดสอนได้เพียง ๓ สาขา คือ สาขาปรัชญา สาขาจิตวิทยา สาขาสังคมศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต ๔ ปี เป็นระบบหน่วยกิต รวมเป็น ๒๔๐ หน่วยกิต เป็นครั้งแรก
พ.ศ. ๒๕๑๒ มีคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่องการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ให้เป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้เปิดการศึกษาครบ ๔ คณะ คือคณะศาสนาและปรัชญา คณะสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต ๔ ปี ตามระบบหน่วยกิตลดลงเหลือเพียง ๒๐๐ หน่วยกิต
พ.ศ. ๒๕๑๘ได้ เปลี่ยนแปลงหลักสูตรปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต ๔ ปี ตามระบบหน่วยกิต คือ ต้องศึกษาให้ได้หน่วยกิตรวมอย่างน้อย ๑๔๔ หน่วยกิต เพื่อปรับหลักสูตรให้เข้ากับมาตรฐานการศึกษาชั้นปริญญาตรี ของทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อเสนอหลักสูตรให้สภาผู้แทนราษฎรใช้ประกอบการพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัด ตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๑๒
พ.ศ. ๒๕๒๕ได้เปลี่ยนชื่อคณะศิลปศาสตร์ เป็น คณะมนุษยศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๒๖ได้ เปลี่ยนแปลงหลักสูตรปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต ๔ ปี เฉพาะบางรายวิชาให้เหมาะสม และมีโครงสร้างของหลักสูตรทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า ๑๔๔ หน่วยกิต แบ่งออกเป็น ๔ คณะ คือ คณะศาสนาและปรัชญา คณะสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ ส่วนชั้นบุรพศึกษา ใช้เวลาเรียน ๑ ปี ชั้นเตรียมศาสน-ศาสตร์ ใช้เวลาเรียน ๒ ปี ชั้นปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาเรียน ๔ ปี รวมการศึกษาภาควิชาการเป็น ๗ ปี และต้องปฏิบัติศาสนกิจตามที่สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยมอบหมายอีก ๑ ปี รวมเป็น ๘ ปี
พ.ศ. ๒๕๒๗สภา นิติบัญญัติแห่งชาติได้ตราพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระ พุทธศานา พ.ศ. ๒๕๒๗ ให้ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา ตามหลักสูตรปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต จากสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรี เรียกว่า ศาสนศาสตรบัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า ศน.บ. พระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้สำหรับผู้สำเร็จก่อนวันที่ประกาศใช้พระราช บัญญัตินี้ด้วย
พ.ศ. ๒๕๓๐เปิด การศึกษาชั้นปริญญาโท เรียกว่า บัณฑิตวิทยาลัย ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ มี ๒ คณะ คือ คณะพุทธศาสนาและปรัชญา และคณะพุทธศาสนนิเทศ ได้เปิดทำการสอน ในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๑ ผู้สำเร็จการศึกษามีสิทธิรับปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า ศน.ม. (สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา ), ( สาขาพุทธศาสนนิเทศ)
พ.ศ. ๒๕๓๔ได้ปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรใหม่และมีสาขาวิชาเอกในแต่ละคณะเพิ่มขึ้นอีก ดังนี้
๑. คณะศาสนาและปรัชญา วิชาเอก พุทธศาสตร์, ปรัชญา, ศาสนาเปรียบเทียบ, ศาสนาและปรัชญา
๒. คณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอก ภาษาไทย, ภาษาบาลีและสันสกฤต, ภาษาบาลี, ภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาศาสตร์วรรณคดีอังกฤษ, หลักสูตรภาษาบาลีพิเศษ
๓. คณะสังคมศาสตร์ วิชาเอก สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, จิต วิทยา, ประวัติศาสตร์, โบราณคดี
๔. คณะศึกษาศาสตร์ วิชาเอก การศึกษา, การบริหารการศึกษา, การให้คำปรึกษาและการแนะแนว, การศึกษานอกระบบ, สังคมศึกษา, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย
พ.ศ. ๒๕๓๕ สมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประธานคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์ ว่าด้วยการจัดการศึกษาของสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และสภามหาวิทยาลัย อนุมัติให้จัดตั้งวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๓๖ คณะมนุษยศาสตร์ เปิดสอนภาควิชา ภาษาบาลีและสันสกฤต
พ.ศ. ๒๕๓๗ สภามหาวิทยาลัย อนุมัติให้จัดตั้งวิทยาเขตร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
พ.ศ. ๒๕๓๘ สภามหาวิทยาลัย อนุมัติให้จัดตั้งวิทยาเขตศรีล้านช้าง จังหวัดเลย
พ.ศ. ๒๕๓๙ -คณะศาสนาและปรัชญา เปิดสอนภาควิชา พุทธศาสตร์
 -สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์
 -สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เสนอ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยสงฆ์ และ พ.ร.บ. กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรและผ่านคณะกรรมาธิการวิสามัญวาระแรก กำลังเสนอเข้าสู่วาระที่สอง
พ.ศ. ๒๕๔๐รัฐสภา ได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยที่คณะกรรมธิการ พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ๓ วาระ – พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยว่าด้วยการจัดตั้งส่วนงาน วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
-สภามหาวิทยาลัยออกข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยว่าด้วยการจัดตั้งส่วนงาน พ.ศ. ๒๕๔๐
-ประกาศมหาวิทยาลัยว่าด้วยการแบ่งส่วนงาน พ.ศ. ๒๕๔๐
-สภามหาวิทยาลัยออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมมหาวิทยาลัย
-สภามหาวิทยาลัยออกข้อบังคับว่าด้วยการให้ปริญญากิตติมศักดิ์
-สภามหาวิทยาลัยออกข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสวัสดิการบุคลากร พ.ศ. ๒๕๔๐
พ.ศ. ๒๕๔๑ สภามหาวิทยาลัยออกข้อบังคับระเบียบข้อกำหนด และประกาศมหาวิทยาลัยไว้ดังนี้
– ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเลือกสรรกรรมการสภาวิชาการ ซึ่งเลือกจากอาจารย์ประจำคณะ พ.ศ. ๒๕๔๑
– ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการดำเนินการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งบริหารในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๑
– ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๔๑
– ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยจากผู้บริหาร พ.ศ. ๒๕๔๑
– ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๔๑
– ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๔๑
– ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการให้สวัสดิการการรักษาพยาบาลแก่บุคลากรและลูกจ้าง
  พ.ศ. ๒๕๔๑
– ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยบัตรประจำตัวบุคลากร พ.ศ. ๒๕๔๑
– ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยเครื่องแบบบุคลากรมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๑
– ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการเงินและทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๑
– ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยรหัสของหน่วยงานตามระบบสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๔๑
– ประกาศมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยภารกิจและหน้าที่ของส่วนงานในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๑
– ประกาศมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๑
– ประกาศมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๔๑
– ข้อกำหนดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยวัน เวลาทำงาน วันหยุด การลา และเกณฑ์การลา พ.ศ. ๒๕๔๑
พ.ศ. ๒๕๔๒ สภามหาวิทยาลัยออกข้อบังคับระเบียบข้อกำหนด และประกาศมหาวิทยาลัยไว้ดังนี้
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย แก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พุทธศักราช ๒๕๒๖ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๔)
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนของบัณฑิตวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๒
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๒
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร พ.ศ. ๒๕๔๒
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนของบุคลากรของมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๒
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ้างผู้เกษียณอายุปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๒
-สัญญาจ้างการปฏิบัติงาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการให้ทุนบุคลากรศึกษาต่อและฝึกอบรม พ.ศ. ๒๕๔๒
-สัญญารับทุนโครงการพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
-สัญญาค้ำประกันผู้รับทุนการศึกษาโครงการพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการลาศึกษาต่อของบุคลากร พ.ศ. ๒๕๔๒
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการใช้ห้องสมุด พ.ศ. ๒๕๔๒
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการส่งเสริมการวิจัย พ.ศ. ๒๕๔๒
-สัญญารับเงินอุดหนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๒
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการบรรยายพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๒
พ.ศ. ๒๕๔๓ สภามหาวิทยาลัยออกข้อบังคับระเบียบข้อกำหนด และประกาศมหาวิทยาลัยไว้ดังนี้
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย แก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการดำเนินการแต่งตั้งบุคลากรให้ดำรงตำแหน่งบริหารงานในมหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๑) พ.ศ. ๒๕๔๓
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาภาคฤดูร้อน พ.ศ. ๒๕๔๓
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการอบรมกรรมฐานภาคปกติ พ.ศ. ๒๕๔๓
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการปฏิบัติศาสนกิจสำหรับพระนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๓
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการประชุมสภาวิชาการ พ.ศ. ๒๕๔๓
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย และคณะกรรมการประจำคณะ พ.ศ. ๒๕๔๓
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการเบิกจ่ายเบี้ยประชุม พ.ศ. ๒๕๔๐ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการจัดการศึกษาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พ.ศ. ๒๕๔๓
-คณะสังคมศาสตร์ เปิดสอนภาควิชารัฐศาสตร์การปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๔ สภามหาวิทยาลัยออกข้อบังคับระเบียบข้อกำหนด และประกาศมหาวิทยาลัยไว้ดังนี้
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการพัสดุของมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๔
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยกองทุนเงินสะสมของบุคลากร พ.ศ. ๒๕๔๔
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยเงินบำเหน็จของบุคลากร พ.ศ. ๒๕๔๔
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยเครื่องแบบนักศึกษาคฤหัสถ์ พ.ศ. ๒๕๔๔
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. ๒๕๔๔
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการรับจ่ายเก็บรักษาเงินและการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔
-หลักสูตรศาสนตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง ๒๕๔๓ จำนวน ๑๔ สาขาวิชา
-มติสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ ๔/๒๕๔๔ เรื่องขอแก้ไขสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยใช้ชื่อเต็มและย่อมหาวิทยาลัยและวิทยาเขตภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พ.ศ. ๒๕๔๔
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในโครงการฝึกอบรมและการประชุมของมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๔
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน พ.ศ. ๒๕๔๔
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการรับบริจาค พ.ศ. ๒๕๔๔
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการปฏิบัติงานสำหรับคฤหัสถ์ พ.ศ. ๒๕๔๔
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการตรวจสอบภายใน พ.ศ. ๒๕๔๔
พ.ศ. ๒๕๔๔ สภามหาวิทยาลัยออกข้อบังคับระเบียบข้อกำหนด และประกาศมหาวิทยาลัยไว้ดังนี้
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการพัสดุของมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๔
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยกองทุนเงินสะสมของบุคลากร พ.ศ. ๒๕๔๔
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยเงินบำเหน็จของบุคลากร พ.ศ. ๒๕๔๔
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยเครื่องแบบนักศึกษาคฤหัสถ์ พ.ศ. ๒๕๔๔
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. ๒๕๔๔
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการรับจ่ายเก็บรักษาเงินและการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔
-หลักสูตรศาสนตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง ๒๕๔๓ จำนวน ๑๔ สาขาวิชา
-มติสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ ๔/๒๕๔๔ เรื่องขอแก้ไขสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยใช้ชื่อเต็มและย่อมหาวิทยาลัยและวิทยาเขตภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พ.ศ. ๒๕๔๔
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในโครงการฝึกอบรมและการประชุมของมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๔
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน พ.ศ. ๒๕๔๔
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการรับบริจาค พ.ศ. ๒๕๔๔
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการปฏิบัติงานสำหรับคฤหัสถ์ พ.ศ. ๒๕๔๔
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการตรวจสอบภายใน พ.ศ. ๒๕๔๔
พ.ศ. ๒๕๔๕
                     
 สภามหาวิทยาลัยออกข้อบังคับระเบียบข้อกำหนด และประกาศมหาวิทยาลัยไว้ดังนี้
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยเงินบำเหน็จของบุคลากร พ.ศ. ๒๕๔๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการส่งเสริมการวิจัย พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ พ.ศ. ๒๕๔๕
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการยกเลิกข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยเงินบำเหน็จของบุคลากร พ.ศ. ๒๕๔๔ และข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยเงินบำเหน็จของบุคลากร พ.ศ. ๒๕๔๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการส่งเสริมการผลิตตำราและเอกสารทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
-ระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. ๒๕๔๕
-ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการให้ปริญญากิตติมศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๔๕

18,672 จำนวนผู้เข้าชม
Scroll to Top