ข้อมูลหลักสูตร
- ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Master of Political Science Program
- ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ร.ม.
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Political Science
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Pol.Sc. - วิชาเอกเดี่ยว
ไม่มี
- จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
42 หน่วยกิต - รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาโท
5.2 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ
5.3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่ใช้ภาษาไทยได้
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัย
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว
จุดเด่น
พัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถทางรัฐศาสตร์ มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ
คุณสมบัติผู้สมัคร
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐศาสตร์ หรือปริญญาตรี สาขาวิชาอื่น หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยให้การรับรอง
- มีเกรดเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50
- ผู้ที่ได้เกรดเฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรอาจพิจารณารับเป็นนักศึกษาได้โดยพิจารณาจากประสบการณ์การทำงานติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
- ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศ ต้องมีคุณสมบัติอย่างอื่นเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด
- สำหรับผู้ที่ไม่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์ จะต้องศึกษารายวิชาทางรัฐศาสตร์เพิ่มเติม ตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด
- มีความประพฤติดี ไม่มีประวัติในทางเสียหาย ไม่เป็นโรคร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
หมายเหตุ ผู้เข้าศึกษาจะต้องยื่นคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่คณะสังคมศาสตร์กำหนดก่อนสำเร็จการศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามประกาศกระทรวง
จบแล้วทำอาชีพอะไร
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถปฏิบัติงานในองค์กรคณะสงฆ์ สำหรับผู้ที่เป็นบรรพชิต และด้านการปกครอง ด้านวิชาการ บริหารนโยบายและแผนได้ทุกหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ บริษัทเอกชน และอื่น ๆ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาที่เป็นคฤหัสถ์ ดังนี้
- องค์กรคณะสงฆ์ ได้แก่ พระสังฆาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนา ศาสนพิธีกร พระธรรมทูต พระนักเผยแผ่ พระนักพัฒนา มหาวิทยาลัยทางศาสนา
- องค์การภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ นักปกครองระดับกลางและระดับสูง ปลัดอำเภอ ตำรวจ ทหาร อนุศาสนาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาของรัฐ นักวิจัย นักการทูต นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักการเมืองท้องถิ่น นักการเมืองระดับชาติ เจ้าหน้าที่ศาลปกครอง นักพัฒนาชุมชน
- องค์การภาคเอกชน ได้แก่ ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง พนักงานธนาคาร พนักงานสถาบันการเงิน เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป นักสื่อสารมวลชน
- องค์กรอิสระ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ องค์การไม่แสวงหากำไร
- องค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ สำนักงานสหประชาชาติ (UN) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
2,962 จำนวนผู้เข้าชม