ข้อมูลหลักสูตร
- ภาษาไทย : หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Social Work Program in Social Work
- ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (สังคมสงเคราะห์ศาสตร์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : สส.บ. (สังคมสงเคราะห์ศาสตร์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Social Work (Social Work)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.S.W. (Social Work) - วิชาเอกเดี่ยว
ไม่มี - จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
158 หน่วยกิต - รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
5.2 ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
5.2 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย
5.3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
หลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว
จุดเด่น
- ในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยที่เปิดทำการเรียนการสอนสาขาวิชานี้ 6 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยสงขลานครินริทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
- -จุดเด่นของหลักสูตร: มีรายวิชาทางพระพุทธศาสนากับการสังคมสงเคราะห์เพื่อเสริมองค์ความรู้ให้กับผู้เรียนได้รู้และเข้าใจหลักธรรมและนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในงานสังคมสงเคราะห์ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย คือ “ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวทางพระพุทธศาสนา”
- – เป็นหลักสูตรที่ได้การรับรองจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ให้สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ได้
คุณสมบัติผู้สมัคร
- สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
- ไม่เป็นผู้มีคุณสมบัติต้องห้ามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
- ไม่เป็นผู้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางศีลธรรม เว้นแต่นักศึกษาตาม โครงการศึกษาลักษณะพิเศษ
- ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ
- เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้เข้ารับการศึกษา
จบแล้วทำอาชีพอะไร
- นักสังคมสงเคราะห์ / นักพัฒนาสังคม / พัฒนากร / พัฒนาชุมชน / พนักงานคุมประพฤติ / เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ / นักทัณฑวิทยา / นักวิชาการยุติธรรม
- เจ้าหน้าที่บุคคล / เจ้าหน้าที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- นักวิชาการ / นักวิจัย / นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
- นักบริหาร / เจ้าหน้าที่บริหาร ฯลฯ
5,000 จำนวนผู้เข้าชม