หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

ข้อมูลหลักสูตร

  1. ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program  in Sociology and Anthropology
  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา)
    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา)
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Sociology and Anthropology)
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.A. (Sociology and Anthropology)
  2. วิชาเอกเดี่ยว
    ไม่มี
  3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    143  หน่วยกิต
  4. รูปแบบของหลักสูตร 
    5.1 รูปแบบ
    หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
    5.2 ประเภทของหลักสูตร
    หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    5.2 ภาษาที่ใช้
    ภาษาไทย
    5.3 การรับเข้าศึกษา
    รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
    หลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
    5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
    ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว

จุดเด่น

พัฒนาหลักสูตรเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมที่จะเข้าสู่การแข่งขันในตลาดแรงงาน และดำรงตนอยู่ได้ในสภาพสังคมปัจจุบัน ภายใต้แนวคิดทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ทักษะการวิจัย ธรรมะวิจัย และทักษะการปฏิบัติงานภาคสนาม โดยดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา


คุณสมบัติผู้สมัคร

  • สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
  • ไม่เป็นผู้มีคุณสมบัติต้องห้ามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
    • ไม่เป็นผู้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
    • ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางศีลธรรม เว้นแต่นักศึกษาตาม โครงการศึกษาลักษณะพิเศษ
    • ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ
  • เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้เข้ารับการศึกษา

จบแล้วทำอาชีพอะไร

พัฒนาหลักสูตรเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมที่จะเข้าสู่การแข่งขันในตลาดแรงงาน และดำรงตนอยู่ได้ในสภาพสังคมปัจจุบัน ภายใต้แนวคิดทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ทักษะการวิจัย ธรรมะวิจัย และทักษะการปฏิบัติงานภาคสนาม โดยดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา

  • องค์กรคณะสงฆ์ ได้แก่ พระสังฆาธิการ สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง สำนักงานการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ศูนย์พระปริยัตินิเทศแห่งคณะสงฆ์สำนักเรียน สำนักศาสนศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ศาสนพิธีกร พระธรรมทูต  พระนักเผยแผ่ พระนักพัฒนา
  • หน่วยงานภาครัฐ  นักวิชาการ  พัฒนากร เจ้าพนักงานพัฒนาสังคม งานด้านการบริหารงานบุคคล งานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ งานด้านประชาสังคม  นักพัฒนาชุมชน นักวิจัย นักวิชาการวัฒนธรรม นักวิชาการศาสนา นักวิชาการยุติธรรม นักทัณฑวิทยา เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ผู้สื่อข่าวสายสังคม
  • หน่วยงานเอกชน เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล เจ้าหน้าที่ฝ่ายฝึกอบรม ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่รณรงค์ เจ้าหน้าที่มวลชนสัมพันธ์ (CSR)
  • องค์การมหาชน ได้แก่ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เป็นต้น
  • งานอิสระ ได้แก่ นักวิชาการอิสระ นักกิจกรรมทางสังคม นักเขียนคอลัมน์นิตยสาร/ออนไลน์

วิทยาเขตที่เปิดสอน

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง

2,186 จำนวนผู้เข้าชม
Scroll to Top