หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ข้อมูลหลักสูตร

  1. ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
    ภาษาอังกฤษ : Doctor of Political Science
  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ร.ด.
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Political Science    
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : D.Pol.Sc.
  2. วิชาเอกเดี่ยว
    ไม่มี
  3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    แบบ ๑.๑ ต้องศึกษาไม่น้อยกว่า ๖๐ หน่วยกิต
    แบบ ๒.๑ ต้องศึกษาไม่น้อยกว่า ๖๐ หน่วยกิต
  4. รูปแบบของหลักสูตร 
    5.1 รูปแบบ
    หลักสูตรระดับปริญญาเอก
    5.2 ภาษาที่ใช้
    ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ
    5.3 การรับเข้าศึกษา
    รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้
    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
    เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัย
    5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
    การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว

จุดเด่น

  • หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ในปีการศึกษา ๒๕๖๔ (หลังจากเปิดสอนหลักสูตรเป็นเวลา ๒ ปี)

คุณสมบัติผู้สมัคร

คุณสมบัติและวุฒิการศึกษาของผู้มีสิทธิสมัครเข้าเป็นนักศึกษา ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทหรือเทียบเท่าทางรัฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับรอง หรือสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยรับรอง และได้รับคะแนนมีค่าเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า ๓.๕ ในระบบ ๔ แต้ม​ หรือ
  • มีเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์/งานวิจัยที่มีประเด็นครอบคลุมคือ
    ​- หัวข้อดุษฎีนิพนธ์/งานวิจัย
    – ความสำคัญของปัญหา
    – คำถามวิจัย
    – ​วัตถุประสงค์
    – ​แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ศึกษา
    – ระเบียบวิธีวิจัย
  • มีความรู้ภาษาต่างประเทศในระดับที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติที่กำหนด เค้าโครงดุษฎีนิพนธ์หรืองานวิจัย การสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และ/หรือการสอบข้อเขียนตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด

จบแล้วทำอาชีพอะไร

ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถปฏิบัติงานในองค์กรคณะสงฆ์ สำหรับผู้ที่เป็นบรรพชิต และด้านการปกครอง ด้านวิชาการ บริหารนโยบายและแผนได้ทุกหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ บริษัทเอกชน และอื่น ๆ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาที่เป็นคฤหัสถ์ ดังนี้

  • องค์กรคณะสงฆ์ ได้แก่ พระสังฆาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนา ศาสนพิธีกร พระธรรมทูต พระนักเผยแผ่ พระนักพัฒนา มหาวิทยาลัยทางศาสนา
  • องค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย นักวิชาการ ข้าราชการ พนักงานท้องถิ่น ผู้บริหารระดับสูงและระดับกลาง  อนุศาสนาจารย์ นักวิจัย นักการเมืองท้องถิ่น นักการเมืองระดับชาติ นักปกครองสังกัดกระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • องค์การภาคเอกชน ได้แก่ ผู้บริหารบริษัท ผู้จัดการ ที่ปรึกษาอาวุโส กรรมการผู้จัดการ พนักงานธนาคาร พนักงานสถาบันการเงิน เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล นักสื่อสารมวลชน
  • องค์กรอิสระ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  องค์การไม่แสวงหากำไร
  • องค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ สำนักงานสหประชาชาติ (UN)  กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)  สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
1,880 จำนวนผู้เข้าชม
Scroll to Top