ข้อมูลหลักสูตร
- ภาษาไทย : หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Buddhist Studies
- ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พุทธศาสน์ศึกษา)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศน.ด. (พุทธศาสน์ศึกษา)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Buddhist Studies)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Buddhist Studies) - วิชาเอกเดี่ยว
ไม่มี - จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
63 หน่วยกิต - รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
ปริญญาเอก 2 แบบ คือ แบบ 1 และ แบบ 2
5.2 ภาษาที่ใช้
จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
5.3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทยและต่างประเทศ
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัย
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว
จุดเด่น
- เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้เข้าใจและความสามารถทางพระพุทธศาสนา มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนต่อเนื่องตลอดชีวิต
- เพื่อส่งเสริมบัณฑิตให้ค้นคว้าวิจัย แสวงหาองค์ความรู้ใหม่ด้านพระพุทธศาสนา
- เพื่อเสริมสร้างบัณฑิตให้สามารถนำหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและเผยแผ่องค์ความรู้ไปพัฒนาสังคมให้เกิดสันติสุข
- เพื่อให้บัณฑิตสามารถรักษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรมและตอบสนองกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและสังคมไทย
- เพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตให้มีทักษะชีวิต คิดอย่างมีเหตุผล กล้าเผชิญสถานการณ์รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาตามแนวพระพุทธศาสนา
คุณสมบัติผู้สมัคร
- ผู้สมัคร แบบ 1 ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ต้องทำวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 63 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาเพิ่มเติมตามที่หลักสูตรกำหนด
- ผู้สมัคร แบบ 2 ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ต้องทำดุษฎีนิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต ทั้งนี้ดุษฎีนิพนธ์ตามแบบ 1 และแบบ 2 ต้องมีมาตรฐานและคุณภาพเดียวกัน
- ผู้สมัครศึกษาทั้งแบบ 1 และ แบบ 2 บัณฑิตวิทยาลัยอาจกำหนดให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมหรือทำกิจกรรมทางวิชาการที่สอดคล้องกับลักษณะของสาขาวิชา เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์โดยไม่นับหน่วยกิต
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทได้แต้มเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50 จากระบบ 4 แต้มหรือเทียบเท่าในกรณีที่ได้เกรดเฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดคณะกรรมการบริหารหลักสูตรอาจพิจารณารับ สมัครได้โดยพิจารณาจากผลงานทางวิชาการประสบการณ์การทำงานความรู้และความสามารถ ทั้งนี้ต้องมีแต้มเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.30
- ผู้สมัครต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดระบบการคัดเลือกนักศึกษาที่ต้องผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ เป็นไปตามประกาศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาเอก (พ.ศ.2560) โดยมีผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษซึ่งเทียบเคียงได้กับผล Common European Framework of Reference for English (CEFR) ในกรณีที่นักศึกษาไม่ได้ยื่นผลการทดสอบภาษาอังกฤษ ในวันสมัครเป็นนักศึกษาปริญญาเอกต้องผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษจากแบบทดสอบภาษาอังกฤษของบัณฑิต วิทยาลัย (MBU-TEP) ต่อไป (ประกาศฯ ภาคผนวก)
- ผู้สมัครต้องเคยศึกษาในหลักสูตรที่มีการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ส่วนผู้ที่ศึกษาแบบ 1 ต้องเป็นผู้ทำงานในสายวิชาการเช่น อาจารย์นักวิชาการ หรือนักวิจัยในมหาวิทยาลัยวิทยาลัยหรือสถาบันทางวิชาการอื่น ๆ ต้องมีประสบการณ์ด้านวิชาการมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- สำหรับผู้ที่ไม่เคยผ่านการศึกษาทางด้านพระพุทธศาสนาต้องศึกษารายวิชาปรับพื้นฐาน จำนวน 6 หน่วยกิต
- ผู้สมัครต้องเข้าสัมมนาตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย
- ต้องไม่เคยถูกลงโทษให้พ้นจากสถานภาพการเป็นนักศึกษาจากสถาบันการศึกษา หรือมีบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม และมีความประพฤติดี ไม่มีประวัติในทางเสียหาย
จบแล้วทำอาชีพอะไร
- เป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา
- รับราชการในกระทรวงวัฒนธรรม
- รับราชการในกระทรวงศึกษาธิการ
- เป็นเจ้าที่ของรัฐในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
- นักวิชาการอิสระ
- เป็นผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
- ใช้ร่วมกับทุกอาชีพที่นักศึกษาประกอบอาชีพอยู่ก่อน
2,234 จำนวนผู้เข้าชม