หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

ข้อมูลหลักสูตร

  1. ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา
    ภาษาอังกฤษ : Master of Arts Program in Buddhist Studies
  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธศาสน์ศึกษา)
    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.ม. (พุทธศาสน์ศึกษา)
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Arts (Buddhist Studies)
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.A. (Buddhist Studies)
  2. วิชาเอกเดี่ยว
    ไม่มี
  3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    36 หน่วยกิต
  4. รูปแบบของหลักสูตร 
    5.1 รูปแบบ
    หลักสูตรระดับปริญญาโท
    5.2 ภาษาที่ใช้
    จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    5.3 การรับเข้าศึกษา
    รับนักศึกษาไทยและต่างประเทศ
    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
    เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัย
    5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
    การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว

จุดเด่น

  • เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้เข้าใจและความสามารถทางพระพุทธศาสนา มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนต่อเนื่องตลอดชีวิต
  • เพื่อส่งเสริมบัณฑิตให้ค้นคว้าวิจัย แสวงหาองค์ความรู้ใหม่ด้านพระพุทธศาสนา
  • เพื่อเสริมสร้างบัณฑิตให้สามารถนำหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและเผย แผ่องค์ความรู้ไปพัฒนาสังคมให้เกิดสันติสุข
  • เพื่อให้บัณฑิตสามารถรักษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรมและตอบสนองกิจกรรมทาง พระพุทธศาสนาและสังคมไทย
  • เพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตให้มีทักษะชีวิต คิดอย่างมีเหตุผล กล้าเผชิญสถานการณ์ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาตามแนวพระพุทธศาสนา

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตามที่หลักสูตรกำหนดจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอื่นๆ ซึ่งหลักสูตรปริญญานั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้การรับรอง
  • มีเกรดเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50 จากระบบ 4 แต้ม
  • ที่ได้เกรดเฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์ คณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัยอาจพิจารณารับเป็น นักศึกษาได้โดยพิจารณาจากประสบการณ์การทำงานติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
  • ในกรณีที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศต้องมีใบเทียบวุฒิการศึกษา
  • จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา


จบแล้วทำอาชีพอะไร

บทบาทหน้าที่สำหรับบรรพชิต

  • พระสังฆาธิการ
  • พระธรรมทูต
  • อาจารย์สอนในสถาบันการศึกษา

อาชีพสำหรับคฤหัสถ์

  • รับราชการ
  • เป็นพนักงานของมหาวิทยาลัย
  • เป็นอาจารย์สอนในสถาบันการศึกษา
  • นักวิชาการอิสระ
  • ใช้สำหรับการดำเนินชีวิต
1,507 จำนวนผู้เข้าชม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ประกาศ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top