หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา

ข้อมูลหลักสูตร

  1. ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา
    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Pali, Sanskrit and Tripitaka studies
  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา)
    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (ภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา)
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Pali, Sanskrit and Tripitaka studies)
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.A. (Pali, Sanskrit and Tripitaka studies)
  2. วิชาเอกเดี่ยว
    ไม่ระบุ
  3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    126 หน่วยกิต
  4. รูปแบบของหลักสูตร 
    5.1 รูปแบบ
    หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
    5.2 ประเภทของหลักสูตร
    หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    5.2 ภาษาที่ใช้
    ภาษาไทย
    5.3 การรับเข้าศึกษา
    รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
    หลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
    5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
    ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว

จุดเด่น

  • คณาจารย์มีวุฒิการศึกษาตรงตามสาขาวิชา
  • เมื่อเรียนนักศึกษาสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในการศึกษาพระพุทธศาสนาได้
  • นักศึกสามารถรู้และเข้าใจภาษาบาลีสันสกฤตได้เป็นอย่างดี
  • หลักสูตรมุ่งเน้นการเรียนการสอนแบบบูรณาการให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน
  • ที่สาขามีห้องสมุดสาขาเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
  • ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางศีลธรรม เว้นแต่นักศึกษาตามโครงการศึกษาลักษณะพิเศษ
  • ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ
  • เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษา

จบแล้วทำอาชีพอะไร

  • พระธรรมทูต/ พระสังฆาธิการ/ อนุศาสนาจารย์
  • อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย/ ครูสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม
  • นักวิจัย/ นักวิชาการศึกษา/นักวิชาการอิสระ
  • บรรณาธิการ/ นักเขียน/ นักภาษาโบราณ/ นักอักษรศาสตร์
  • ข้าราชการและพนักงานของรัฐในกระทรวง องค์การมหาชนที่เกี่ยวข้อง

วิทยาเขตที่เปิดสอน

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง

1,976 จำนวนผู้เข้าชม
Scroll to Top