ข้อมูลหลักสูตร
- ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Buddhistic Sociology
- ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Buddhistic Sociology)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Buddhistic Sociology) - วิชาเอกเดี่ยว
ไม่มี - จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 66 หน่วยกิต - รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาเอก
5.2 ภาษาที่ใช้
จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
5.3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทยและต่างประเทศ
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัย
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว
จุดเด่น
- หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ในปีการศึกษา ๒๕๖๔ (หลังจากเปิดสอนหลักสูตรเป็นเวลา ๒ ปี)
คุณสมบัติผู้สมัคร
คุณสมบัติและวุฒิการศึกษาของผู้มีสิทธิสมัครเข้าเป็นนักศึกษา ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
หลักสูตร แบบ ๑ (ฐานปริญญาโท เฉพาะดุษฎีนิพนธ์)
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีผลการเรียนในระดับดีมาก โดยมีหน่วยกิตสะสมอย่างน้อย ๑๒ หน่วยกิต และมีค่าลำดับขั้นสะสมเฉลี่ย ๓.๗๕ ขึ้นไป หรือมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป
- มีความรู้ภาษาอังกฤษตามผลสอบของ TOEFL ในระดับ≥ ๕๐๐ หรือ ผลสอบ IELTS ≥ ๕.๕ หรือ TEG ≥ ๖๕ หรือตามตามเกณฑ์และวิธีการตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์กำหนด
- คุณสมบัติอื่นใดให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ และให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.๒๕๕๙
หลักสูตร แบบ ๒ (ฐานปริญญาโท ศึกษากระบวนรายวิชาและดุษฎีนิพนธ์)
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีผลการเรียนดี หรือ
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาหลักสูตรปริญญาโท และเรียนกระบวนรายวิชาต่าง ๆ ตามที่สาขาวิชากำหนดได้ผลดีเป็นพิเศษ โดยมีหน่วยกิตสะสมอย่างน้อย ๑๒ หน่วยกิต และมีค่าลำดับขั้นสะสมเฉลี่ย ๓.๕๐ ขึ้นไป หรือมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป
- มีความรู้ภาษาอังกฤษตามผลสอบของ TOEFL ในระดับ≥ ๕๐๐ หรือ ผลสอบ IELTS ≥ ๕.๕ หรือ TEG ≥ ๖๕ หรือตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์
- คุณสมบัติอื่นให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ และให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๙
จบแล้วทำอาชีพอะไร
- เป็นนักวิชาการและอาจารย์มหาวิทยาลัยด้านสังคมศาสตร์
- รับราชการครู รับราชการในส่วนราชการต่าง ๆ
- รับราชการอยู่ในกระทรวงวัฒนธรรม
- รับราชการอยู่ในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
- เป็นวิทยากรอิสระ
- อาชีพที่เกี่ยวกับกิจการงานทางสังคมศาสตร์
- อาชีพที่เกี่ยวกับกิจการงานทางสังคมศาสตร์
846 จำนวนผู้เข้าชม